วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

5. อัคคีภัย


         อัคคีภัย หมายถึง ภัยที่เกิดจากไฟ ขาดการควบคุมดูแล ทำให้เกิดการติดต่อลุกลามไปตามบริเวณที่มีเชื้อเพลิงเกิดการลุกไหม้ต่อเนื่อง สร้างความสูญเสียให้ทรัพย์สินและชีวิต
                   5.1 สาเหตุการเกิดอัคคีภัย
                                1) สาเหตุของอัคคีภัยอันเกิดจากความตั้งใจ เช่น การลอบวางเพลิง                                                                   2) สาเหตุของอัคคีภัยอันเกิดจากความประมาท ขาดความระมัดระวัง แบ่งเป็นประเด็น                                      หลักๆ ได้ 2 ประเด็นคือ              
                                                        (1) ขาดความระมัดระวังทำให้เชื้อเพลิงแพร่กระจาย
                                                        (2) ขาดความระมัดระวังการใช้ไฟและความร้อน
                   5.2 ผลกระทบจากการเกิดอัคคีภัย
                   ทำให้เกิดการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิต อันเนื่องมาจากความร้อนเกิดความเสียหายแก่อาคาร สถานที่ และเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างขึ้นมาใหม่หรือจัดเครื่องจักรใหม่มาทดแทนของเก่า
                   5.3 แนวทางการป้องกันภัยจากอัคคีภัย
                                1) ตรวจสอบบรรดาสายไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ใช้อยู่ในบ้าน
                                2) อย่าให้เด็กเล่นไม้ขีดไฟ ไฟแช็ค และต้องเก็บให้พ้นมือเด็ก
                                3) ก่อนเข้านอนหรือก่อนออกจากบ้าน ควรแน่ใจว่า ไม่ได้จุดธูปเทียน เปิดแก๊ส                                            เปิดเตาไฟฟ้าเสียบปลั๊ก ทิ้งค้างไว้                                  
                                4) อย่าให้ลูกเล่นวัตถุไวไฟ หรือวัตถุระเบิดทั้งหลาย เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรค                                           น้ำมันก๊าด สเปรย์กระป๋อง ดอกไม้ไฟ ประทัดและเม็ดมะยม
                                5) อย่าทิ้งเด็กให้อยู่บ้านตามลำพัง
                                6) ควรมีอุปกรณ์ดับไฟ (เครื่องดับเพลิง) ที่ได้มาตรฐานไว้ในบ้าน
                                7) จดและจำ เบอร์โทรศัพท์ของสถานีดับเพลิงใกล้บ้านและแปะติดไว้ในที่เห็นได้                                           ง่ายๆ หรืออย่างน้อยให้ทุกคนในบ้านจำเบอร์ 199 ให้ได้
                                8) หากจำเป็นต้องใส่ เหล็กดัดตามประตูหน้าต่างเพื่อกันขโมย ก็ไม่ควรใช้แบบ                                             ปิดตาย แต่ให้เปิดปิดได้ด้วยกุญแจและลูกกุญแจนั้นจะต้องเก็บไว้ ณ ที่ที่หยิบได้                                            ทันทีที่มีเหตุฉุกเฉิน
                   5.4 ข่าวเกี่ยวกับอัคคีภัย

ที่มา: http://www.manager.co.th/south/viewnews.aspx?NewsID=9550000147968
ภาพที่ 5   ระทึกเพลิงไหม้โรงงานแปรรูปยางพาราที่กระบี่วอด คนงานเจ็บ 30 คน
         เมื่อเวลาประมาณ 20.30 น. วันที่ 4 ธันวาคม 2555 เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวง   ป้อมนาเหนือ       ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ได้รับแจ้งเกิดเหตุเพลิงไหม้โรงงานแปรรูปยางพาราของ บ.บีไรท์           รับเบอร์ จำกัด เลขที่ 99 ม.2 ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ หลังรับแจ้งได้รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับ และเดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย  อ.ทับปุด หน่วยกู้ภัยอ่าวลึก หน่วยกู้ภัยปลายพระยา หน่วยกู้ภัยพังงา ปภ.พังงา และเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยหน่วยผจญเพลิงในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อเข้าทำการดับเพลิงโดยที่บริเวณโรงงานซึ่งอยู่ติดกับถนนสายเขาต่อ-นาเหนือ พบไฟกำลังโหมไหม้อย่างหนัก โดยเฉพาะที่บริเวณลานอัดแท่งยางพารา เจ้าหน้าที่ต้องใช้รถดับเพลิงเข้าฉีดน้ำเพื่อควบคุมเพลิงโดยใช้เวลานานกว่า 3 ชั่วโมง จึงสามารถควบคุมเพลิงได้ แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าตรวจสอบภายในได้เนื่องจากยังมีไฟคุอยู่ตลอดเวลา และต้องระดมฉีดน้ำเพื่อป้องกันเพลิงลุกไหม้ไปยังพื้นที่อื่น  อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบในเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่พบว่า ขณะที่เกิดเหตุมีคนงานกำลังทำงานอยู่ภายในโรงงานส่วนหนึ่ง ในเบื้องต้น มีคนงานได้รับบาดเจ็บประมาณ 30 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยกู้ภัยในพื้นที่ และต่างพื้นที่ รวมทั้งรถพยาบาลจากโรงพยาบาลต่างๆ ช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาลแล้ว
ด้าน พ.ต.อ.สมเด็จ สุขการ ผกก.สภ.อ่าวลึก จ.กระบี่ กล่าวถึงสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ในครั้งนี้ว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า สาเหตุของเพลิงไหม้เกิดจากอะไร ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จะต้องเข้าไปตรวจสอบ และสอบปากคำผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ก่อน ส่วนความเสียหายในเบื้องต้นพบว่า มียางแผ่นรมควันอยู่ในโรงงานจำนวนมากซึ่งเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี นอกจากนั้น ยังมีตาชั่ง  รถยก ระบบไฟ และอื่นๆ ซึ่งต้องรอให้เพลิงสงบก่อนจึงจะสามารถเข้าไปตรวจสอบหาสาเหตุของเพลิงไหม้ที่แท้จริงอีกครั้ง










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น