วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

3. สึนามิ


     สึนามิ (tsunami) เป็นคลื่นขนาดยักษ์ที่มีกำเนิดจากมหาสมุทรและเคลื่อนที่เข้าสู่ชายฝั่ง  คำว่า สึนามิ 
เป็นภาษาญี่ปุ่น หมายถึง คลื่นท่าเรือ ในภาษาอังกฤษเรียกคลื่นนี้ว่า tidal wave หมายถึง คลื่นที่เกิดจาก
กระแสน้ำขึ้นน้ำลง สึนามิมักเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิก และประเทศที่ต้องผจญกับสึนามิบ่อยๆ คือ
ประเทศญี่ปุ่น 
              3.1 สาเหตุการเกิดคลื่นสึนามิ
       คลื่นสึนามิเกิดขึ้นจากการกระทบกระเทือนที่ทำให้น้ำปริมาณมากเกิดการเคลื่อนตัว  เมื่อแผ่นดินไหวใต้ทะเล เกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกะทันหัน ทำให้น้ำทะเลเคลื่อนตัว เพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ    การเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเลมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหว  เนื่องจากการขยับตัวของเปลือกโลก  ซึ่งจะเกิดบริเวณที่เกิดของเปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า รอยเลื่อน (fault)          
              3.2 ผลกระทบจากการเกิดสึนามิ
                                1) ประชาชนขาดที่อยู่อาศัย ไม่มีทรัพย์สิน สิ้นเนื้อประดาตัว
                                2) กระทบต่อธุรกิจรายย่อย เช่น ร้านค้าแผงลอยบริเวณชายหาด
                                3) กระทบต่อชาวประมง
                                4) กระทบต่อสิ่งปลูกสร้างและสาธารณูปโภค
                                5) ประชาชนป่วยเป็นโรคทางจิตเวช ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Post-Traumatic Stress 
                                    Disorder (PTSD) ซึ่งเกิดได้กับเหยื่อของภัยพิบัติทุกชนิด เช่น คลื่นสึนามิ พายุ 
                                    ไฟไหม้ น้ำท่วม 
                                 3.3 แนวทางการป้องกันภัยจากสึนามิ
                           ภาครัฐ
                                1) ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ประชาชน
                                2) จัดให้มีการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ
                                3) วางแผนในเรื่องการอพยพผู้คน กำหนดสถานที่ในการอพยพ จัดเตรียมบ้านพัก
                                     ชั่วคราว ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                                4) หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งทะเล
                                5) จัดให้มีศูนย์เตือนภัยจากคลื่นสึนามิ
                               6) มีการประกาศเตือนภัย
                             ภาคเอกชน
                                1) ให้การสนับสนุนภาครัฐและภาคประชาชน
                                2) ให้การสนับสนุนด้านการเงินและช่วยเหลือหลังเกิดภัยพิบัติ
                                3) ให้การสนับสนุนด้านกำลังคนในการช่วยเหลือ กรณีเกิดภัยจากสึนามิ
                             ภาคประชาชน
                                1) เมื่อรู้ว่ามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น ขณะที่อยู่ในทะเลหรือบริเวณชายฝั่ง ให้รีบออกจาก
                                     บริเวณชายฝั่งไปยังบริเวณที่สูงหรือที่ดอนทันที
                                2) เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางราชการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณทะเล
                                     อันดามัน ให้เตรียมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้โดยด่วน
                                3) สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่ง หากทะเลมีการลดของระดับน้ำลงมาก หลังการเกิด
                                    แผ่นดินไหวให้สันนิษฐานว่า อาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้อพยพคนและสัตว์
                                   เลี้ยงโดยทันที โดยให้อยู่ห่างจากชายฝั่งมากๆและอยู่ในที่ดอนหรือน้ำท่วมไม่ถึง
                                4) ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือหรืออ่าวให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เพราะคลื่น
                                    สึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมากๆ จะมีขนาดเล็ก
                                5) คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมี
                                     การแกว่งไปมาของน้ำทะเล
                                6) ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
                                7) หากที่พักอาศัยอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำกำแพง ปลูกต้นไม้ เพื่อลดแรงปะทะของ
                                     น้ำทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรง
                                8) หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงสูง
                                9) วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ
                                10) จัดผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง
                                11) ประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้ประชาชน ในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจาก
                                       คลื่นสึนามิ และแผ่นดินไหว
                                12) วางแผนล่วงหน้า หากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่าง
                                       หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัยด้าน
                                      สาธารณสุข  การรื้อถอน และฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น
                                13) อย่าลงไปในชายหาดเพื่อดูคลื่นสึนามิ เพราะเมื่อเห็นคลื่นแล้วก็ใกล้เกินกว่าจะ
                                     หลบหนีทัน
                                14) คลื่นสึนามิ ในบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดเล็ก แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่ 
                                      อย่าประมาทให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์

              3.4 ข่าวเกี่ยวกับสึนามิ


ที่มา: http://www.krobkruakao.com.html
ภาพที่ 3   เผยภาพสึนามิที่เมืองคามาอิชิ
                   สำนักข่าวเอ็นเอชเคของญี่ปุ่น ยังคงเผยแพร่ภาพสึนามิที่กำลังพัดถล่มจุดต่างๆในพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา อย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดเป็นภาพสึนามิที่เมืองคามาอิชิ ในจังหวัดอิวาเตะ ภาพที่เห็นนี้บันทึกโดยช่างภาพท้องถิ่นของเอ็นเอชเค เป็นภาพนาทีระทึกขณะที่คลื่นยักษ์สึนามิกำลังพัดถาโถมมุ่งหน้ามายังชายฝั่งเมืองคามาอิชิ คลื่นยักษ์ได้พัดพาทุกอย่างที่ขวางหน้าทั้งเรือ รถยนต์และบ้านเรือนเข้ามายังท้องถนน ขณะที่ประชาชนได้ขึ้นไปอยู่ยังที่สูง และได้แต่เฝ้ามองบ้านเรือนที่ถูกคลื่นยักษ์พัดกระหน่ำ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น