วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

2. อุทกภัย


อุทกภัย คือ ภัยและอันตรายที่เกิดจากน้ำท่วมหรือน้ำท่วมฉับพลัน
             2.1 สาเหตุของการเกิดอุทกภัย 
                       1) ฝนตกหนัก เป็นเวลานาน ทำให้น้ำมีจำนวนมาก จนไม่สามารถระบายลงสู่
                             แม่น้ำลำคลองได้ทัน
                        2) ลมมรสุม เกิดจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
                        3) พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่ พายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน และพายุใต้ฝุ่น ซึ่งทำให้
                             ฝนตกเป็นเวลานานติดต่อกัน จนเกิดน้ำท่วม
                       4) น้ำทะเลหมุน ปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรมาอยู่แนวเดียวกัน
                            และรวมกำลังกัน ทำให้เกิดแรงดึงดูดต่อน้ำในมหาสมุทร เกิดภาวะน้ำขึ้นสูงสุด
                            มากกว่าระยะอื่นที่เรียกว่า ระยะน้ำเกิด
               2.2 ผลกระทบจากการเกิดอุทกภัย
                                1) ความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน อาคารและบ้านเรือน
                                2) ความเสียหายของแหล่งเกษตร ได้แก่ แหล่งกสิกรรมไร่นา สัตว์เลี้ยง      
                                3) ความเสียหายทางเศรษฐกิจ รายได้ของประเทศลดลง ผลกำไรจากภารกิจต่างๆ
                                    ถูกกระทบกระเทือน รัฐต้องมีรายจ่ายสูงขึ้นจากการซ่อมแซมและช่วยเหลือ
                                    ผู้ประสบอุทกภัยและเกิดข้าวยากหมากแพงทั่วไป                                                
                                4) ความเสียหายทางด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน คือ ขาดน้ำที่ดีมีคุณภาพใน
                                     การอุปโภคบริโภค เกิดโรคระบาด เช่น โรคน้ำกัดเท้า รวมทั้งโรคเครียด
                                5) ความเสียหายที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ 
                2.3 แนวทางการป้องกันภัยจากอุทกภัย    
                                1) จัดเตรียมหน่วยงานถาวรที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งภาครัฐบาล และเอกชนที่ 
                                     ฝึกอบรมและฝึกซ้อมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ต่างๆ มีการให้ความรู้
                                     แก่ประชาชน เกี่ยวกับ อันตราย สาเหตุและการควบคุมป้องกันอุทกภัย 
                                2) การเตือนภัย เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ทราบล่วงหน้าก่อนที่จะเกิด
                                      อุทกภัย อาจใช้วิทยุกระจายเสียง หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ระบบสัญญาณไฟ
                                     ที่เห็นได้ตามจุดล่อแหลมต่างๆ ซึ่งระบบเตือนภัยต้องรวดเร็ว แม่นยำ ทันเหตุการณ์
                                     และมีระยะเวลาเตือนล่วงหน้า นานพอสมควร  
                                 3) การเตรียมความพร้อมของประชาชนที่อยู่ในบริเวณที่จะเกิดอุทกภัย เมื่อได้รับ  
                                       สัญญาณเตือนอุทกภัย ควรจัดเตรียมเสบียงอาหาร ยา น้ำดื่ม เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม 
                                      เรือไม้   สิ่งของที่จำเป็น ออกจากบริเวณที่ราบต่ำไปอยู่ที่สูง
                                 4) ควรติดตามฟังข่าวอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ เมื่อกรมอุตุนิยมวิทยา
                                     เตือนให้อพยพ ทั้งคนและสัตว์เลี้ยงควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูง
                                 5) ถ้าอยู่ที่ราบให้ระมัดระวังน้ำป่าไหลหลาก ควรสังเกตเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกัน
                                      บนภูเขาหลายๆวัน ให้เตรียมตัวอพยพขนของไว้ที่สูง
                                 6) ถ้าอยู่ริมน้ำให้เอาเรือหลบเข้าฝั่งไว้ในที่จะใช้งานได้ เพื่อการคมนาคม      
                                 7) หลังจากน้ำท่วม จะเกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์ ให้
                                      ระวังน้ำบริโภค โดยต้มให้เดือดเสียก่อน
                2.4 ข่าวเกี่ยวกับอุทกภัย
                                 

                                                                    ที่มา: http://www.krobkruakao.com.html
ภาพที่ 2   ฟิลิปปินส์..น้ำท่วมหนักครึ่งกรุงจมใต้น้ำ
  ฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องทำให้พื้นที่ครึ่งหนึ่งของกรุงมะนิลาจมอยู่ใต้น้ำและทำให้ เกิดดินถล่ม 
มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 9 คน    เจ้าหน้าที่กู้ภัยฟิลิปปินส์ต้องเร่งช่วยเหลือและอพยพประชาชนหลายหมื่นคน หลังฝนตกหนักจากฤดูมรสุม ทำให้น้ำในเขื่อนและแม่น้ำทั้งในกรุงมะนิลาและจังหวัดโดยรอบ
ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนหลายหมู่บ้าน ประชาชนจำนวนมากต้องหนีขึ้นไปอยู่บนหลังคา
ขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ในกรุงมะนิลากลายเป็นอัมพาต ถือเป็นอุทกภัยครั้งเลวร้ายที่สุดตั้งแต่ปี 2552
และซ้ำเติมเหตุพายุไต้ฝุ่นซาวลาพัดถล่มฟิลิปปินส์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 53 คน
ผู้อำนวยการศูนย์รับมือภัยพิบัติของฟิลิปปินส์เผยว่า ขณะนี้มีน้ำท่วมพื้นที่ร้อยละ 50 ของกรุงมะนิลา
โดยพื้นที่ร้อยละ 30 ระดับน้ำสูงถึงเอว หรือคอ ขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงดินถล่มและน้ำท่วม ให้อพยพเข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราว ซึ่งขณะนี้ต้องรับผู้ประสบภัยน้ำท่วมแล้วเกือบ 20,000 คน ด้านสำนักพยากรณ์อากาศของกรุงมะนิลารายงานว่า พายุโซนร้อนที่ก่อตัวนอกชายฝั่งตะวันออกของจีนส่งอิทธิพลทำให้ฝนฤดูมรสุมในฟิลิปปินส์ตกหนักมากขึ้น และคาดว่าจะมีผลไปจนถึงวันพรุ่งนี้  รัฐบาลฟิลิปปินส์ประกาศให้วานนี้และวันนี้เป็นวันหยุดราชการในกรุงมะนิลา โรงเรียนหยุดการเรียนการสอน  ส่วนตลาดหุ้นปิดทำการ เช่นเดียวกับสถานทูตสหรัฐฯ ประจำฟิลิปปินส์ ที่ตั้งอยู่ในเขตที่น้ำท่วม ด้านประธานาธิบดี เบนิกโน อาควิโน ที่ 3 ของฟิลิปปินส์ ได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานฉุกเฉินต่างๆ สั่งให้เจ้าหน้าที่หาทางช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเตรียมความช่วยเหลือโรงพยาบาลในกรณีที่เกิดไฟดับ












                                                                           

                  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น