วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

1. แผ่นดินไหว


    แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลก เพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่
                 1.1 สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว
                       1) เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อน และแรงระเบิดจากการทำเหมืองแร่
                       2) เกิดตามธรรมชาติอันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก       

                1.2 ผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว
                 มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ทำให้เกิดพื้นดินแตกแยก ภูเขาไฟระเบิด อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลาย ไฟไหม้ แก๊สรั่ว ท่อระบายน้ำและท่อประปาแตก คลื่นสึนามิ แผ่นดินถล่ม เส้นทางการคมนาคมเสียหายและถูกตัดขาด เกิดโรคระบาด ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย รวมถึงเศรษฐกิจ เช่น การสื่อสารโทรคมนาคมขาดช่วง ระบบคอมพิวเตอร์ขัดข้อง การคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศหยุดชะงัก ประชาชนตื่นตระหนก เมืองทั้งเมืองอาจถูกทำลายหมดและมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
              1.3 แนวทางการป้องกันภัยจากแผ่นดินไหวก่อนเกิดแผ่นดินไหว
                              ก่อนเกิดแผ่นดินไหว
                                1) เตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เช่น ไฟฉาย น้ำดื่ม อาหารแห้ง
                                2) จัดหาเครื่องรับวิทยุที่ใช้ไฟฉายหรือแบตเตอรี่ สำหรับเปิดฟังข่าวและคำเตือน
                                3) เตรียมอุปกรณ์นิรภัย สำหรับการช่วยชีวิต
                                4) เตรียมยารักษาโรคและเวชภัณฑ์ เพื่อการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
                                5) ฝึกการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บให้พ้นขีดอันตราย 
                               6) ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากๆ ไว้ในที่สูง เพราะอาจร่วงหล่นมาทำ
                                     ความเสียหายหรืออันตรายได้                                                  
                               7) เตรียมการอพยพเคลื่อนย้าย หากถึงเวลาที่จะต้องอพยพ

ขณะเกิดแผ่นดินไหว
                                1) ตั้งสติ อยู่ในที่ที่ปลอดภัย ห่างจากประตู หน้าต่าง สายไฟ เป็นต้น
                                2) ปฏิบัติตามคำแนะนำของทางราชการอย่างเคร่งครัด
                                3) ไม่ควรทำให้เกิดประกายไฟ เพราะหากมีการรั่วซึมของแก๊สหรือวัตถุไวไฟ
                                      อาจเกิดภัยพิบัติจากไฟไหม้ ไฟลวก ซ้ำซ้อนกับแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นอีก
                                4) เปิดวิทยุรับฟังสถานการณ์ คำเตือนต่างๆ จากทางราชการอย่างต่อเนื่อง
                                5) ไม่ควรใช้ลิฟต
                                6) มุดเข้าไปนอนใต้เตียงหรือตั่ง อย่าอยู่ใต้คานหรือที่ที่มีน้ำหนักมาก
                                7) อยู่ห่างจากสิ่งที่ไม่มั่นคงแข็งแรง
                                8) ให้รีบออกจากอาคารเมื่อมีการสั่งการจากผู้ที่ควบคุมแผนป้องกันภัย
                                9) หากอยู่ในรถ ให้หยุดรถจนกว่าแผ่นดินจะหยุดไหวหรือสั่นสะเทือน 
                               10) ตรวจเช็คการบาดเจ็บและทำการปฐมพยาบาล แล้วนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
                               11) เปิดฟังข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำจากทางราชการโดยดี
                               12) ไม่ใช้โทรศัพท์โดยไม่จำเป็น                    
                               13) ออกจากอาคารที่ชำรุดโดยด่วน เพราะอาจเกิดการพังทลายลงมา
                               14) สวมรองเท้ายางเพื่อป้องกันสิ่งปรักหักพัง เศษแก้ว เศษกระเบื้อง
                               15) รวมพล ณ ที่ที่ได้ตกลงนัดหมายกันไว้และนับจำนวนสมาชิกว่าอยู่ครบหรือไม่
                               16) ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปปฏิบัติงานในบริเวณที่ได้รับความเสียหาย  

             1.4 ข่าวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว
ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/home/.html
ภาพที่ 1   แผ่นดินไหวอิหร่าน-เบื้องต้นตาย 180 ราย
เกิดเหตุแผ่นดินไหวสองครั้งซ้อน ในพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่าน                      
     วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.2 ริกเตอร์ และ 6.0 ริกเตอร์ ส่งผลให้บ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างจำนวนมาก
    ได้รับความเสียหาย เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 180 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1,300 คน ล่าสุดทางการ 
     อิหร่านส่งเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย ตลอดจนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานด้านสาธารณภัย ระดมกำลัง 
     ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งนี้                                             
                                                                                                                    


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น