วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทความเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ


                                                            โลกร้อนขึ้นกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ
              โลกเจอกับภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น หลายคนถามว่าเป็นเพราะปัญหาโลกร้อนจริงหรือไม่ สุดท้าย ก็โยนไปให้เป็นความผิดของภาวะโลกร้อนซึ่งต้นตอก็มาจากฝีมือมนุษย์นั่นเอง
                   ภัยพิบัติทางธรรมชาติแยกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                           (1) ภัยจากน้ำและดินฟ้าอากาศ (Hydro-Meteorological) เช่น พายุ น้ำท่วม ภัยแล้ง
                           (2) ภัยจากธรณีวิทยา (Geophysical) เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด คลื่นสึนามิ
                           (3) ภัยจากเชื้อโรค (Biological) เช่น โรคระบาดร้ายแรงต่างๆ
            การที่จะบอกว่า โลกเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยครั้งขึ้นและรุนแรงมากขึ้นเพราะสาเหตุโลก ร้อนนั้น ต้องมีหลักฐานมาพิสูจน์ ทั้งนี้ จากการค้นคว้าพบว่า ย้อนหลังไปตั้งแต่ ปี 2443 – 2548 หรือ     ร้อยปีที่ผ่านมา ระยะ 50 ปีแรก ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นน้อยมาก กราฟเริ่มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ 50 ปี      ที่ผ่านมา โดยเฉพาะสถิติน้ำท่วมสูงขึ้นอย่างผิดปกติ
                   หากดูสถิติในช่วงเวลาที่แคบลงมาอีกนิด คือ ระหว่างปี 2518-2548 หรือ ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา กราฟภัยพิบัติทางธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นในระดับ 45 องศา ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สิน และความเสียหายด้านเศรษฐกิจอย่างมหาศาล พบว่า น้ำท่วมมีมากที่สุด ( 30.7) รองลงมาคือพายุลม (26.6) จากนั้นเป็นโรคระบาด (11.2) และแผ่นดินไหว (8.6) แต่ภัยแล้งก็มีมากขึ้น (7.8) ดังเช่นที่ออสเตรเลียและแคลิฟอร์เนียเจอมาแล้ว ส่วนแผ่นดินถล่มน้อยที่สุด ภัยพิบัติประเภทสองมีไม่มาก แผ่นดินไหวบ่อยขึ้นแต่ยังน้อย ส่วนภูเขาไฟระเบิดมีน้อยมาก สำหรับประเภทที่สามนั้น โรคร้ายมีเพิ่มขึ้นเห็นได้ชัดมากขึ้น มีโรคแปลกใหม่เกิดขึ้นและระบาดอย่างรวดเร็ว
                   หากแยกตามทวีปที่เกิดภัยพิบัติ พบว่า ทวีปแอฟริกาเจอปัญหาการแพร่กระจายของโรคร้ายแรงมากที่สุด ทวีปอเมริกาเจอปัญหาจากพายุเฮอร์ริเคนและน้ำท่วมมากที่สุด เอเชียเจอน้ำท่วม พายุและแผ่นดินไหว มากที่สุด ยุโรปเจอน้ำท่วม ส่วนโอเชียเนีย คือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และหมู่เกาะแปซิฟิกเจอแผ่นดินไหวมากที่สุด แต่ในระดับที่ไม่รุนแรง
                   สถิติเฉพาะปี 2550ที่เพิ่งผ่านไป เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติรวม 126 ครั้ง โดยสหรัฐเจอเข้าไปมากที่สุดซึ่งส่วนใหญ่เป็นพายุเฮอริเคนที่ก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน 22 ครั้ง จีน 20 ครั้ง   อินเดีย 18 ครั้ง ฟิลิปปินส์ 16 ครั้ง อินโดนีเซีย 15 ครั้ง ปากีสถาน 9 ครั้ง ญี่ปุ่น 8 ครั้ง ที่เหลือกระจายกัน อย่างไรก็ดี ความเสียหายด้านชีวิตมนุษย์ในประเทศพัฒนาแล้วมีน้อยลง เพราะมีมาตรการป้องกัน การอพยพโยกย้ายประชาชน แต่ในประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนยังมีมากเช่นเดิม ประเมินว่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจจากภัยพิบัติทางธรรมชาติทั่วโลกในปี 2550 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 60,000 ล้านดอลลาร์
                    ปี 2550 ภัยพิบัติทางธรรมชาติขนาดใหญ่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินและต่อเศรษฐกิจมากที่สุด มาจากภัยน้ำท่วมเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ ลมพายุ ส่วนแผ่นดินไหว อากาศหนาวเย็นจัด ภัยแล้ง ไฟป่า ดินถล่ม อยู่ในระดับต่ำ ที่มีน้อยมากคือภูเขาไฟระเบิดและคลื่นยักษ์ที่เรียกว่า สตอร์ม เซิร์จ
                    สำหรับภูมิภาคที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติมากที่สุดในปี 2550 คือ ทวีปเอเชีย (74.8%) ซึ่งส่วนใหญ่เจอพายุและน้ำท่วมเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นจีน บังคลาเทศ อินเดีย ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียซึ่งเป็นเกาะ เช่นเดียวกับญี่ปุ่นและไต้หวัน ที่เจอพายุหลายสิบลูกในแต่ละปี ประเทศลุ่มน้ำโขง เช่น ไทยก็เจอน้ำท่วมเป็นประจำ ทวีปอเมริกา (12.2%) ส่วนใหญ่เจอพายุเฮอริเคนแถบรัฐชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก แอฟริกา (6.5%) ยุโรป (5.1%) โอเชียเนีย (1.4%)
                    ในปี 2551 ยังไม่มีสถิติแต่ พบว่า โลกเจอพายุ น้ำท่วม ไม่น้อยกว่าปีก่อน ถ้าหากบอกว่าโลกร้อนขึ้นจนทำให้บรรยากาศโลกเปลี่ยนแปลงไป เกิดภัยพิบัติมากขึ้น ก็น่าจะมีเหตุผลพอรับได้ แม้ว่ามนุษย์ยังไม่สามารถป้องกันหรือ ระงับภัยธรรมชาติได้ แต่ก็สามารถลดความเสียหายได้โดยเฉพาะชีวิตของผู้คน โดยการมีระบบเตือนภัยล่วงหน้าที่มีประสิทธิภาพ สามารถอพยพประชาชนหนีภัยไปยังที่ปลอดภัยได้ล่วงหน้า วิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าสามารถป้องกัน ยับยั้งการแพร่กระจายของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะยังไม่สามารถรักษาโรคร้ายบางโรคให้หายขาดได้ก็ตาม

5. อัคคีภัย


         อัคคีภัย หมายถึง ภัยที่เกิดจากไฟ ขาดการควบคุมดูแล ทำให้เกิดการติดต่อลุกลามไปตามบริเวณที่มีเชื้อเพลิงเกิดการลุกไหม้ต่อเนื่อง สร้างความสูญเสียให้ทรัพย์สินและชีวิต
                   5.1 สาเหตุการเกิดอัคคีภัย
                                1) สาเหตุของอัคคีภัยอันเกิดจากความตั้งใจ เช่น การลอบวางเพลิง                                                                   2) สาเหตุของอัคคีภัยอันเกิดจากความประมาท ขาดความระมัดระวัง แบ่งเป็นประเด็น                                      หลักๆ ได้ 2 ประเด็นคือ              
                                                        (1) ขาดความระมัดระวังทำให้เชื้อเพลิงแพร่กระจาย
                                                        (2) ขาดความระมัดระวังการใช้ไฟและความร้อน
                   5.2 ผลกระทบจากการเกิดอัคคีภัย
                   ทำให้เกิดการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิต อันเนื่องมาจากความร้อนเกิดความเสียหายแก่อาคาร สถานที่ และเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างขึ้นมาใหม่หรือจัดเครื่องจักรใหม่มาทดแทนของเก่า
                   5.3 แนวทางการป้องกันภัยจากอัคคีภัย
                                1) ตรวจสอบบรรดาสายไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ใช้อยู่ในบ้าน
                                2) อย่าให้เด็กเล่นไม้ขีดไฟ ไฟแช็ค และต้องเก็บให้พ้นมือเด็ก
                                3) ก่อนเข้านอนหรือก่อนออกจากบ้าน ควรแน่ใจว่า ไม่ได้จุดธูปเทียน เปิดแก๊ส                                            เปิดเตาไฟฟ้าเสียบปลั๊ก ทิ้งค้างไว้                                  
                                4) อย่าให้ลูกเล่นวัตถุไวไฟ หรือวัตถุระเบิดทั้งหลาย เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรค                                           น้ำมันก๊าด สเปรย์กระป๋อง ดอกไม้ไฟ ประทัดและเม็ดมะยม
                                5) อย่าทิ้งเด็กให้อยู่บ้านตามลำพัง
                                6) ควรมีอุปกรณ์ดับไฟ (เครื่องดับเพลิง) ที่ได้มาตรฐานไว้ในบ้าน
                                7) จดและจำ เบอร์โทรศัพท์ของสถานีดับเพลิงใกล้บ้านและแปะติดไว้ในที่เห็นได้                                           ง่ายๆ หรืออย่างน้อยให้ทุกคนในบ้านจำเบอร์ 199 ให้ได้
                                8) หากจำเป็นต้องใส่ เหล็กดัดตามประตูหน้าต่างเพื่อกันขโมย ก็ไม่ควรใช้แบบ                                             ปิดตาย แต่ให้เปิดปิดได้ด้วยกุญแจและลูกกุญแจนั้นจะต้องเก็บไว้ ณ ที่ที่หยิบได้                                            ทันทีที่มีเหตุฉุกเฉิน
                   5.4 ข่าวเกี่ยวกับอัคคีภัย

ที่มา: http://www.manager.co.th/south/viewnews.aspx?NewsID=9550000147968
ภาพที่ 5   ระทึกเพลิงไหม้โรงงานแปรรูปยางพาราที่กระบี่วอด คนงานเจ็บ 30 คน
         เมื่อเวลาประมาณ 20.30 น. วันที่ 4 ธันวาคม 2555 เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวง   ป้อมนาเหนือ       ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ได้รับแจ้งเกิดเหตุเพลิงไหม้โรงงานแปรรูปยางพาราของ บ.บีไรท์           รับเบอร์ จำกัด เลขที่ 99 ม.2 ต.นาเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ หลังรับแจ้งได้รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับ และเดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย  อ.ทับปุด หน่วยกู้ภัยอ่าวลึก หน่วยกู้ภัยปลายพระยา หน่วยกู้ภัยพังงา ปภ.พังงา และเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยหน่วยผจญเพลิงในพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อเข้าทำการดับเพลิงโดยที่บริเวณโรงงานซึ่งอยู่ติดกับถนนสายเขาต่อ-นาเหนือ พบไฟกำลังโหมไหม้อย่างหนัก โดยเฉพาะที่บริเวณลานอัดแท่งยางพารา เจ้าหน้าที่ต้องใช้รถดับเพลิงเข้าฉีดน้ำเพื่อควบคุมเพลิงโดยใช้เวลานานกว่า 3 ชั่วโมง จึงสามารถควบคุมเพลิงได้ แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าตรวจสอบภายในได้เนื่องจากยังมีไฟคุอยู่ตลอดเวลา และต้องระดมฉีดน้ำเพื่อป้องกันเพลิงลุกไหม้ไปยังพื้นที่อื่น  อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบในเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่พบว่า ขณะที่เกิดเหตุมีคนงานกำลังทำงานอยู่ภายในโรงงานส่วนหนึ่ง ในเบื้องต้น มีคนงานได้รับบาดเจ็บประมาณ 30 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยกู้ภัยในพื้นที่ และต่างพื้นที่ รวมทั้งรถพยาบาลจากโรงพยาบาลต่างๆ ช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาลแล้ว
ด้าน พ.ต.อ.สมเด็จ สุขการ ผกก.สภ.อ่าวลึก จ.กระบี่ กล่าวถึงสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ในครั้งนี้ว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า สาเหตุของเพลิงไหม้เกิดจากอะไร ซึ่งทางเจ้าหน้าที่จะต้องเข้าไปตรวจสอบ และสอบปากคำผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ก่อน ส่วนความเสียหายในเบื้องต้นพบว่า มียางแผ่นรมควันอยู่ในโรงงานจำนวนมากซึ่งเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี นอกจากนั้น ยังมีตาชั่ง  รถยก ระบบไฟ และอื่นๆ ซึ่งต้องรอให้เพลิงสงบก่อนจึงจะสามารถเข้าไปตรวจสอบหาสาเหตุของเพลิงไหม้ที่แท้จริงอีกครั้ง










4. วาตภัย


        วาตภัย หมายถึง ภัยที่เกิดจากพายุลมแรง จนทำให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งก่อสร้าง
                   4.1 สาเหตุการเกิดวาตภัย
                            1) พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่ ดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน พายุใต้ฝุ่น
                           2) พายุฤดูร้อน เกิดระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน โดยพายุฤดูร้อนจะเกิดในช่วง                                ที่มีลักษณะอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลายวัน แล้วมีกระแสอากาศเย็นจากความกด                                 อากาศสูงในประเทศจีนพัดมาปะทะกัน ทำให้ฝนฟ้าคะนองมีพายุลมแรงและอาจมี                                     ลูกเห็บตกได้                                                                        
                           3) ลมงวง (เทอร์นาโด) เป็นพายุหมุนรุนแรงขนาดเล็กที่เกิดจากการหมุนเวียนของลม                                       ภายใต้เมฆก่อตัวในทางตั้ง หรือเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง

                    4.2 ผลกระทบจากการเกิดวาตภัย

                                1) ต้นไม้ล้มถอนราก ถอนโคน ไร่นาเสียหาย เสาไฟฟ้าขาด
                                2) บ้านเรือนที่ไม่แข็งแรงพังทลาย ชิ้นส่วนของบ้านถูกลมพายุพัดปลิวเป็นอันตราย
                                     ต่อผู้ที่อยู่ในที่โล่งแจ้ง
                                3) ฝนตกหนัก ทั้งวันทั้งคืนจนทำให้เกิดน้ำป่าและแผ่นดินถล่ม
                                4) ในทะเลมีคลื่นลมแรงมาก เป็นอันตรายต่อการเดินเรือโดยเฉพาะเรือเล็ก
                   4.3 แนวทางการป้องกันภัยจากวาตภัย
การเตรียมการขณะเกิดวาตภัย
                                1) ติดตามข่าวและคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
                                2) เตรียมวิทยุและอุปกรณ์สื่อสาร เพื่อติดตามข่าวสาร
                                3) ตัดกิ่งไม้ที่อาจหักได้จากลมพายุ โดยเฉพาะกิ่งที่จะหักมาทับบ้านหรือสายไฟฟ้า
                                4) ตรวจเสาและสายไฟฟ้าทั้งในและนอกบริเวณบ้านให้เรียบร้อย ถ้าไม่แข็งแรง                                               ให้ยึดเหนี่ยวเสาไฟฟ้าให้มั่นคง
                                5) พักในอาคารที่มั่นคงตลอดเวลาขณะเกิดวาตภัย อย่าออกมาในที่โล่งแจ้ง                                                     6) ปิดประตู หน้าต่างทุกบาน รวมทั้งยึดประตูและหน้าต่างให้มั่นคงแข็งแรง                                                7) ปิดกั้นช่องทางลมและช่องทางต่าง ๆ ที่ลมจะเข้าไปทำให้เกิดความเสียหาย
                                8) เตรียมตะเกียง ไฟฉาย และไม้ขีดไฟไว้ให้พร้อม
                                9) เตรียมอาหารกระป๋องไว้ สำหรับการยังชีพในระยะเวลา 2-3 วัน
                                10) ดับเตาไฟให้เรียบร้อยและควรจะมีอุปกรณ์สำหรับดับเพลิงไว้
                                11) เตรียมเครื่องเวชภัณฑ์
                                12) สิ่งของควรไว้ในที่ต่ำ เพราะอาจจะตกหล่น แตกหักเสียหายได้
                                13) รถยนต์ หรือพาหนะ ควรเตรียมไว้ให้พร้อมภายหลังพายุสงบอาจต้องนำผู้ป่วย                                              ไปส่งโรงพยาบาลและน้ำมันควรจะเต็มถังอยู่ตลอดเวลา
                                14 ) เมื่อลมสงบแล้วต้องรออย่างน้อย 3 ชั่วโมง ถ้าพ้นระยะนี้แล้วไม่มีลมแรงเกิดขึ้น                                             อีก จึงจะวางใจว่าพายุได้ผ่านพ้นไปแล้ว
                                15) ตั้งสติให้มั่นในการติดสินใจ ช่วยครอบครัวให้พ้นอันตรายในขณะวิกฤต                                                       โทรปรึกษานักพยากรณ์อากาศที่หมายเลขโทรศัพท์ 398-9830, 399-4012-3

เมื่อพายุสงบแล้ว
                                1) เมื่อมีผู้บาดเจ็บให้รีบช่วยเหลือและนำส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่                                                   ใกล้เคียงให้เร็วที่สุด
                                2) ถ้ามีเสาไฟฟ้าล้ม สายไฟขาดอย่าเข้าใกล้หรือแตะต้องเป็นอันขาด ทำเครื่องหมาย                                           แสดงอันตรายแจ้งให้เจ้าหน้าที่หรือช่างไฟฟ้าจัดการด่วน
                                3) เมื่อปรากฏว่าท่อประปาแตกที่ใด ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่มาแก้ไขโดยด่วน
                                4) อย่าเพิ่งใช้น้ำประปา เพราะน้ำอาจไม่บริสุทธิ์ เนื่องจากท่อแตกหรือน้ำท่วม                                                     ถ้าใช้น้ำประปาขณะนั้นดื่มอาจจะเกิดโรคได้ ให้ใช้น้ำที่กักตุนก่อนเกิดเหตุดื่ม                                               แทน

                4.4 ข่าวเกี่ยวกับวาตภัย
ที่มา: http://news.sanook.com/843926-mcot
ภาพที่ 4   ยอดตายจากพายุมิรีแนถล่มเวียดนามพุ่ง 23 คน
                   พายุโซนร้อน "มิรีแน" พัดถล่มทางตอนกลางของเวียดนาม ยังส่งผลให้เกิดน้ำท่วม             จากฝนที่กระหน่ำลงมาอย่างหนัก และจนถึงขณะนี้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 23 คน โดยที่จังหวัดฝูเยน           เพียงแห่งเดียวมีผู้เสียชีวิตถึง 15 คน ขณะที่แม่น้ำสายสำคัญในจังหวัดบิน ได้เอ่อล้นเข้าท่วมหมู่บ้าน      หลายแห่งส่งผลให้เกิดน้ำท่วมครั้งรุนแรงในรอบ 40 ปี และมีคนจมน้ำเสียชีวิตไป 5 คน นอกจากนี้       ยังมีผู้สูญหายอีก 2 คน ทางการท้องถิ่นต้องร้องขอความช่วยเหลือไปยังรัฐบาลกลาง เพื่อขอให้จัดส่งเฮลิคอปเตอร์ไปให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยนับหมื่นคนในหลายร้อยหมู่บ้าน ที่ต้องหนีน้ำขึ้นไปอยู่บนหลังคาบ้าน ขณะที่ทหารได้ใช้เรือเร็วช่วยอพยพชาวบ้านบางส่วนไปอยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว






วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

3. สึนามิ


     สึนามิ (tsunami) เป็นคลื่นขนาดยักษ์ที่มีกำเนิดจากมหาสมุทรและเคลื่อนที่เข้าสู่ชายฝั่ง  คำว่า สึนามิ 
เป็นภาษาญี่ปุ่น หมายถึง คลื่นท่าเรือ ในภาษาอังกฤษเรียกคลื่นนี้ว่า tidal wave หมายถึง คลื่นที่เกิดจาก
กระแสน้ำขึ้นน้ำลง สึนามิมักเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิก และประเทศที่ต้องผจญกับสึนามิบ่อยๆ คือ
ประเทศญี่ปุ่น 
              3.1 สาเหตุการเกิดคลื่นสึนามิ
       คลื่นสึนามิเกิดขึ้นจากการกระทบกระเทือนที่ทำให้น้ำปริมาณมากเกิดการเคลื่อนตัว  เมื่อแผ่นดินไหวใต้ทะเล เกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกะทันหัน ทำให้น้ำทะเลเคลื่อนตัว เพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ    การเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเลมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหว  เนื่องจากการขยับตัวของเปลือกโลก  ซึ่งจะเกิดบริเวณที่เกิดของเปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า รอยเลื่อน (fault)          
              3.2 ผลกระทบจากการเกิดสึนามิ
                                1) ประชาชนขาดที่อยู่อาศัย ไม่มีทรัพย์สิน สิ้นเนื้อประดาตัว
                                2) กระทบต่อธุรกิจรายย่อย เช่น ร้านค้าแผงลอยบริเวณชายหาด
                                3) กระทบต่อชาวประมง
                                4) กระทบต่อสิ่งปลูกสร้างและสาธารณูปโภค
                                5) ประชาชนป่วยเป็นโรคทางจิตเวช ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Post-Traumatic Stress 
                                    Disorder (PTSD) ซึ่งเกิดได้กับเหยื่อของภัยพิบัติทุกชนิด เช่น คลื่นสึนามิ พายุ 
                                    ไฟไหม้ น้ำท่วม 
                                 3.3 แนวทางการป้องกันภัยจากสึนามิ
                           ภาครัฐ
                                1) ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ประชาชน
                                2) จัดให้มีการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ
                                3) วางแผนในเรื่องการอพยพผู้คน กำหนดสถานที่ในการอพยพ จัดเตรียมบ้านพัก
                                     ชั่วคราว ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                                4) หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งทะเล
                                5) จัดให้มีศูนย์เตือนภัยจากคลื่นสึนามิ
                               6) มีการประกาศเตือนภัย
                             ภาคเอกชน
                                1) ให้การสนับสนุนภาครัฐและภาคประชาชน
                                2) ให้การสนับสนุนด้านการเงินและช่วยเหลือหลังเกิดภัยพิบัติ
                                3) ให้การสนับสนุนด้านกำลังคนในการช่วยเหลือ กรณีเกิดภัยจากสึนามิ
                             ภาคประชาชน
                                1) เมื่อรู้ว่ามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น ขณะที่อยู่ในทะเลหรือบริเวณชายฝั่ง ให้รีบออกจาก
                                     บริเวณชายฝั่งไปยังบริเวณที่สูงหรือที่ดอนทันที
                                2) เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางราชการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณทะเล
                                     อันดามัน ให้เตรียมรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้โดยด่วน
                                3) สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่ง หากทะเลมีการลดของระดับน้ำลงมาก หลังการเกิด
                                    แผ่นดินไหวให้สันนิษฐานว่า อาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้อพยพคนและสัตว์
                                   เลี้ยงโดยทันที โดยให้อยู่ห่างจากชายฝั่งมากๆและอยู่ในที่ดอนหรือน้ำท่วมไม่ถึง
                                4) ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือหรืออ่าวให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เพราะคลื่น
                                    สึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมากๆ จะมีขนาดเล็ก
                                5) คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมี
                                     การแกว่งไปมาของน้ำทะเล
                                6) ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
                                7) หากที่พักอาศัยอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำกำแพง ปลูกต้นไม้ เพื่อลดแรงปะทะของ
                                     น้ำทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรง
                                8) หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงสูง
                                9) วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ
                                10) จัดผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง
                                11) ประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้ประชาชน ในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจาก
                                       คลื่นสึนามิ และแผ่นดินไหว
                                12) วางแผนล่วงหน้า หากเกิดสถานการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่าง
                                       หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัยด้าน
                                      สาธารณสุข  การรื้อถอน และฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น
                                13) อย่าลงไปในชายหาดเพื่อดูคลื่นสึนามิ เพราะเมื่อเห็นคลื่นแล้วก็ใกล้เกินกว่าจะ
                                     หลบหนีทัน
                                14) คลื่นสึนามิ ในบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดเล็ก แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่ 
                                      อย่าประมาทให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์

              3.4 ข่าวเกี่ยวกับสึนามิ


ที่มา: http://www.krobkruakao.com.html
ภาพที่ 3   เผยภาพสึนามิที่เมืองคามาอิชิ
                   สำนักข่าวเอ็นเอชเคของญี่ปุ่น ยังคงเผยแพร่ภาพสึนามิที่กำลังพัดถล่มจุดต่างๆในพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา อย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดเป็นภาพสึนามิที่เมืองคามาอิชิ ในจังหวัดอิวาเตะ ภาพที่เห็นนี้บันทึกโดยช่างภาพท้องถิ่นของเอ็นเอชเค เป็นภาพนาทีระทึกขณะที่คลื่นยักษ์สึนามิกำลังพัดถาโถมมุ่งหน้ามายังชายฝั่งเมืองคามาอิชิ คลื่นยักษ์ได้พัดพาทุกอย่างที่ขวางหน้าทั้งเรือ รถยนต์และบ้านเรือนเข้ามายังท้องถนน ขณะที่ประชาชนได้ขึ้นไปอยู่ยังที่สูง และได้แต่เฝ้ามองบ้านเรือนที่ถูกคลื่นยักษ์พัดกระหน่ำ


2. อุทกภัย


อุทกภัย คือ ภัยและอันตรายที่เกิดจากน้ำท่วมหรือน้ำท่วมฉับพลัน
             2.1 สาเหตุของการเกิดอุทกภัย 
                       1) ฝนตกหนัก เป็นเวลานาน ทำให้น้ำมีจำนวนมาก จนไม่สามารถระบายลงสู่
                             แม่น้ำลำคลองได้ทัน
                        2) ลมมรสุม เกิดจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
                        3) พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่ พายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน และพายุใต้ฝุ่น ซึ่งทำให้
                             ฝนตกเป็นเวลานานติดต่อกัน จนเกิดน้ำท่วม
                       4) น้ำทะเลหมุน ปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรมาอยู่แนวเดียวกัน
                            และรวมกำลังกัน ทำให้เกิดแรงดึงดูดต่อน้ำในมหาสมุทร เกิดภาวะน้ำขึ้นสูงสุด
                            มากกว่าระยะอื่นที่เรียกว่า ระยะน้ำเกิด
               2.2 ผลกระทบจากการเกิดอุทกภัย
                                1) ความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน อาคารและบ้านเรือน
                                2) ความเสียหายของแหล่งเกษตร ได้แก่ แหล่งกสิกรรมไร่นา สัตว์เลี้ยง      
                                3) ความเสียหายทางเศรษฐกิจ รายได้ของประเทศลดลง ผลกำไรจากภารกิจต่างๆ
                                    ถูกกระทบกระเทือน รัฐต้องมีรายจ่ายสูงขึ้นจากการซ่อมแซมและช่วยเหลือ
                                    ผู้ประสบอุทกภัยและเกิดข้าวยากหมากแพงทั่วไป                                                
                                4) ความเสียหายทางด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน คือ ขาดน้ำที่ดีมีคุณภาพใน
                                     การอุปโภคบริโภค เกิดโรคระบาด เช่น โรคน้ำกัดเท้า รวมทั้งโรคเครียด
                                5) ความเสียหายที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ 
                2.3 แนวทางการป้องกันภัยจากอุทกภัย    
                                1) จัดเตรียมหน่วยงานถาวรที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งภาครัฐบาล และเอกชนที่ 
                                     ฝึกอบรมและฝึกซ้อมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ต่างๆ มีการให้ความรู้
                                     แก่ประชาชน เกี่ยวกับ อันตราย สาเหตุและการควบคุมป้องกันอุทกภัย 
                                2) การเตือนภัย เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ทราบล่วงหน้าก่อนที่จะเกิด
                                      อุทกภัย อาจใช้วิทยุกระจายเสียง หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ระบบสัญญาณไฟ
                                     ที่เห็นได้ตามจุดล่อแหลมต่างๆ ซึ่งระบบเตือนภัยต้องรวดเร็ว แม่นยำ ทันเหตุการณ์
                                     และมีระยะเวลาเตือนล่วงหน้า นานพอสมควร  
                                 3) การเตรียมความพร้อมของประชาชนที่อยู่ในบริเวณที่จะเกิดอุทกภัย เมื่อได้รับ  
                                       สัญญาณเตือนอุทกภัย ควรจัดเตรียมเสบียงอาหาร ยา น้ำดื่ม เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม 
                                      เรือไม้   สิ่งของที่จำเป็น ออกจากบริเวณที่ราบต่ำไปอยู่ที่สูง
                                 4) ควรติดตามฟังข่าวอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ เมื่อกรมอุตุนิยมวิทยา
                                     เตือนให้อพยพ ทั้งคนและสัตว์เลี้ยงควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูง
                                 5) ถ้าอยู่ที่ราบให้ระมัดระวังน้ำป่าไหลหลาก ควรสังเกตเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกัน
                                      บนภูเขาหลายๆวัน ให้เตรียมตัวอพยพขนของไว้ที่สูง
                                 6) ถ้าอยู่ริมน้ำให้เอาเรือหลบเข้าฝั่งไว้ในที่จะใช้งานได้ เพื่อการคมนาคม      
                                 7) หลังจากน้ำท่วม จะเกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์ ให้
                                      ระวังน้ำบริโภค โดยต้มให้เดือดเสียก่อน
                2.4 ข่าวเกี่ยวกับอุทกภัย
                                 

                                                                    ที่มา: http://www.krobkruakao.com.html
ภาพที่ 2   ฟิลิปปินส์..น้ำท่วมหนักครึ่งกรุงจมใต้น้ำ
  ฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องทำให้พื้นที่ครึ่งหนึ่งของกรุงมะนิลาจมอยู่ใต้น้ำและทำให้ เกิดดินถล่ม 
มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 9 คน    เจ้าหน้าที่กู้ภัยฟิลิปปินส์ต้องเร่งช่วยเหลือและอพยพประชาชนหลายหมื่นคน หลังฝนตกหนักจากฤดูมรสุม ทำให้น้ำในเขื่อนและแม่น้ำทั้งในกรุงมะนิลาและจังหวัดโดยรอบ
ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนหลายหมู่บ้าน ประชาชนจำนวนมากต้องหนีขึ้นไปอยู่บนหลังคา
ขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ในกรุงมะนิลากลายเป็นอัมพาต ถือเป็นอุทกภัยครั้งเลวร้ายที่สุดตั้งแต่ปี 2552
และซ้ำเติมเหตุพายุไต้ฝุ่นซาวลาพัดถล่มฟิลิปปินส์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 53 คน
ผู้อำนวยการศูนย์รับมือภัยพิบัติของฟิลิปปินส์เผยว่า ขณะนี้มีน้ำท่วมพื้นที่ร้อยละ 50 ของกรุงมะนิลา
โดยพื้นที่ร้อยละ 30 ระดับน้ำสูงถึงเอว หรือคอ ขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงดินถล่มและน้ำท่วม ให้อพยพเข้าไปอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราว ซึ่งขณะนี้ต้องรับผู้ประสบภัยน้ำท่วมแล้วเกือบ 20,000 คน ด้านสำนักพยากรณ์อากาศของกรุงมะนิลารายงานว่า พายุโซนร้อนที่ก่อตัวนอกชายฝั่งตะวันออกของจีนส่งอิทธิพลทำให้ฝนฤดูมรสุมในฟิลิปปินส์ตกหนักมากขึ้น และคาดว่าจะมีผลไปจนถึงวันพรุ่งนี้  รัฐบาลฟิลิปปินส์ประกาศให้วานนี้และวันนี้เป็นวันหยุดราชการในกรุงมะนิลา โรงเรียนหยุดการเรียนการสอน  ส่วนตลาดหุ้นปิดทำการ เช่นเดียวกับสถานทูตสหรัฐฯ ประจำฟิลิปปินส์ ที่ตั้งอยู่ในเขตที่น้ำท่วม ด้านประธานาธิบดี เบนิกโน อาควิโน ที่ 3 ของฟิลิปปินส์ ได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานฉุกเฉินต่างๆ สั่งให้เจ้าหน้าที่หาทางช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเตรียมความช่วยเหลือโรงพยาบาลในกรณีที่เกิดไฟดับ












                                                                           

                  

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

1. แผ่นดินไหว


    แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลก เพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่
                 1.1 สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว
                       1) เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อน และแรงระเบิดจากการทำเหมืองแร่
                       2) เกิดตามธรรมชาติอันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก       

                1.2 ผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว
                 มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ทำให้เกิดพื้นดินแตกแยก ภูเขาไฟระเบิด อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลาย ไฟไหม้ แก๊สรั่ว ท่อระบายน้ำและท่อประปาแตก คลื่นสึนามิ แผ่นดินถล่ม เส้นทางการคมนาคมเสียหายและถูกตัดขาด เกิดโรคระบาด ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย รวมถึงเศรษฐกิจ เช่น การสื่อสารโทรคมนาคมขาดช่วง ระบบคอมพิวเตอร์ขัดข้อง การคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศหยุดชะงัก ประชาชนตื่นตระหนก เมืองทั้งเมืองอาจถูกทำลายหมดและมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
              1.3 แนวทางการป้องกันภัยจากแผ่นดินไหวก่อนเกิดแผ่นดินไหว
                              ก่อนเกิดแผ่นดินไหว
                                1) เตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เช่น ไฟฉาย น้ำดื่ม อาหารแห้ง
                                2) จัดหาเครื่องรับวิทยุที่ใช้ไฟฉายหรือแบตเตอรี่ สำหรับเปิดฟังข่าวและคำเตือน
                                3) เตรียมอุปกรณ์นิรภัย สำหรับการช่วยชีวิต
                                4) เตรียมยารักษาโรคและเวชภัณฑ์ เพื่อการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
                                5) ฝึกการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บให้พ้นขีดอันตราย 
                               6) ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากๆ ไว้ในที่สูง เพราะอาจร่วงหล่นมาทำ
                                     ความเสียหายหรืออันตรายได้                                                  
                               7) เตรียมการอพยพเคลื่อนย้าย หากถึงเวลาที่จะต้องอพยพ

ขณะเกิดแผ่นดินไหว
                                1) ตั้งสติ อยู่ในที่ที่ปลอดภัย ห่างจากประตู หน้าต่าง สายไฟ เป็นต้น
                                2) ปฏิบัติตามคำแนะนำของทางราชการอย่างเคร่งครัด
                                3) ไม่ควรทำให้เกิดประกายไฟ เพราะหากมีการรั่วซึมของแก๊สหรือวัตถุไวไฟ
                                      อาจเกิดภัยพิบัติจากไฟไหม้ ไฟลวก ซ้ำซ้อนกับแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นอีก
                                4) เปิดวิทยุรับฟังสถานการณ์ คำเตือนต่างๆ จากทางราชการอย่างต่อเนื่อง
                                5) ไม่ควรใช้ลิฟต
                                6) มุดเข้าไปนอนใต้เตียงหรือตั่ง อย่าอยู่ใต้คานหรือที่ที่มีน้ำหนักมาก
                                7) อยู่ห่างจากสิ่งที่ไม่มั่นคงแข็งแรง
                                8) ให้รีบออกจากอาคารเมื่อมีการสั่งการจากผู้ที่ควบคุมแผนป้องกันภัย
                                9) หากอยู่ในรถ ให้หยุดรถจนกว่าแผ่นดินจะหยุดไหวหรือสั่นสะเทือน 
                               10) ตรวจเช็คการบาดเจ็บและทำการปฐมพยาบาล แล้วนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
                               11) เปิดฟังข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำจากทางราชการโดยดี
                               12) ไม่ใช้โทรศัพท์โดยไม่จำเป็น                    
                               13) ออกจากอาคารที่ชำรุดโดยด่วน เพราะอาจเกิดการพังทลายลงมา
                               14) สวมรองเท้ายางเพื่อป้องกันสิ่งปรักหักพัง เศษแก้ว เศษกระเบื้อง
                               15) รวมพล ณ ที่ที่ได้ตกลงนัดหมายกันไว้และนับจำนวนสมาชิกว่าอยู่ครบหรือไม่
                               16) ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปปฏิบัติงานในบริเวณที่ได้รับความเสียหาย  

             1.4 ข่าวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว
ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com/home/.html
ภาพที่ 1   แผ่นดินไหวอิหร่าน-เบื้องต้นตาย 180 ราย
เกิดเหตุแผ่นดินไหวสองครั้งซ้อน ในพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่าน                      
     วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.2 ริกเตอร์ และ 6.0 ริกเตอร์ ส่งผลให้บ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างจำนวนมาก
    ได้รับความเสียหาย เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 180 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1,300 คน ล่าสุดทางการ 
     อิหร่านส่งเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัย ตลอดจนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานด้านสาธารณภัย ระดมกำลัง 
     ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งนี้